Cover photo

Messari's Weekly recap

สรุปข่าวรอบทุกอาทิตย์จาก Messari Pro

Scaling Lens: Momoka

Lens protocol แพลตฟอร์มโซเชี่ยลบน Polygon ได้มีการเติบโตและดึงผู้ใช้ไหม่เข้ามาได้เรื่อยๆเป็นระยะเวลาสามเดือนแล้ว ซึ่งนี่ทำให้จำเป็นต้องมีแผนในการ scale โดย Lens นั้นได้เปิดตัว Scalability Solution ชื่อ Momoka ขึ้นมา

Momoka เป็น Parallel execution สำหรับการใช้งานโซเชี่ยลเช่นการโพสหรือคอมเมนต์บนตัวแพลตฟอร์ม โดยแทนที่จะเขียนข้อมูลลงบนเชนและเกิดจราจรที่ติดขัด Momoka จะไปเขียนธุรกรรมลงบน Arweave แทน ซึ่งจะทำให้สามารถรองรับธุรกรรมได้มากถึง 25,000 ธุรกรรมต่อวินาที

และด้วย Smart Contract บน Polygon ที่ใช้จัดการโปรไฟล์กับการติดตามโปรไฟล์อื่นและการใช้ Momoka ในการ interact บนตัวแพลตฟอร์มจะทำให้ตัว Lens นั้นลื่นขึ้นหากจะปรับตัวขึ้นเป็น App chain

และด้วย Momoka และรวมถึงการที่สร้างอยู่บน general-purpose chain อย่าง Polygon ทำให้ Lens นั้นสามารถทำงานร่วมกับส่วนอื่นๆของ web3 ได้เช่น NFT, Defi, และการจ่ายเงิน และจำทำให้ Lens นั้นนำหน้าคู่แข่งในทุกด้านไม่ว่าจะเป็น decentralization, scalability, และ composibility

Mad Lads (โปรเจ็ค NFT บน Solana)

Mad Lads xNFT ได้เปิดให้ mint ไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้วบน Solana โดยได้เปิดมิ้นที่ 6.9 SOL และก็ได้ไต่ขึ้นเรื่อย 71 SOL หรือประมาณ 10x ซึ่งทำให้ Mad Lads เป็นโปรเจ็ค NFT ที่มี Volume สูงที่สุดของทุกเชนในอาทิตย์ที่ผ่านมา

ซึ่ง Mad Lads นั้นเป็นโปรเจ็ค NFT ที่สำคัญต่อตัว ecosystem ของ Solana มาก เพราะหนึ่งเลย Mad Lads นั้นมาในรูปแบบของ xNFT ซึ่งก็คือหนึ่งในรูปแบบ standard ของโทเคนบน Solana ซึ่งทำให้ web3 app สามารถทำงานได้ภายในวอลเล็ตได้เลย และไม่จำเป็นต้องไปเชื่อมเว็ปนอกเพื่อทำการ Stake เป็นตัวอย่าง

อีกหนึ่งเหตุผลคือ Mad Lads เหมือนมาเป็น NFT ประจำเชนของ Solana แทนที่ DeGods และ y00ts ที่หนีไป Polygon ไม่กี่เดือนที่แล้ว และนี่ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ Mad Lads นั้นได้รับกระแสตอบรับที่ดี เพราะเหล่าเมมเบอร์ OG ของ Solana ก็ได้ออกมาสนับสนุนใน Mad Lads

Altlayers

Altlayer ประกาศร่วมกับ ecosystem ของ Arbitrum Orbit ซึ่งทำให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถสร้าง L3 rollup โดยใช้ interface ของตัว Altlayer และไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดเอง

คล้ายๆกับ Auto Scaling Groups บน Amazon Web Service โครงสร้างแบบ elastic ทำให้สามารถ scale rollup ให้ใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงแล้วแต่การใช้งาน ซึ่ง use case ง่ายๆก็เช่นการเปิดมิ้น NFT ที่โปรเจ็คไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องการจราจรที่ติดขัดเหมือน general-purpose chain

อีกหนึ่งเทรนด์ก็คือ Flash layer ที่ช่วยในด้านของ NFT compression tech หรือก็คือการบีบอัดข้อมูลการสร้าง NFT บนตัวเชนโดยที่ลดค่าใช้จ่ายในการมิ้น NFT และเปิดประตูให้มี use case อื่นๆให้กับตัว NFT ได้มากขึ้น

USDC Cross-Chain Transfer Protocol

Circle ได้เปิดตัว bridge USDC ของตัวเองที่สามารถให้ผู้ใช้โอนถ่าย USDC ระหว่างเชนที่รองรับได้ โดยการทำงานคือ จะทำลายตัวเหรียญในเชนที่เราจะโอนออกแล้วไปมิ้น USDC ไหม่บนเชนปลายทาง ซึ่งการ bridge แบบนี้จะมีความปลอดภัยกว่ากับผู้ใช้ทั่วไป

ในมุมมองของการแข่งขัน USDC ถือเป็นเหรียญ Stable Coin ที่ปลอดภัยในการ bridge มากที่สุดตัวนึง ณ ตอนนี้

USDC ยังเป็นเหรียญที่มีการ Volume ในการ bridge มากที่สุดบนเชน Ethereum อีกด้วย ซึ่งมากถึง 1 ส่วน 3 ของสินทรัพย์ทั้งหมด

และหลายแพลตฟอร์มตอนนี้ก็ได้เริ่มนำ Cross-Chain Transfer Protocol ของ USDC มาใช้ร่วมแล้ว เช่น Celer, Hyperlane, LayerZero, LI.FI, MetaMask, Multichain, Rarimo, Router, Socket, Wanchain, and Wormhole

BTC Ordinals

ในอาทิตย์ที่ผ่านมา Ordinal ได้ทำ Inscription Count ทะลุ All Time High เก่า ซึ่งก็เป็นผลมาจากกระแสเหรียญมีม

แต่ถึงอย่างไร BRC-20 นั้นเป็นเพียงชื่อที่ล้อเลียน ERC-20 บน Ethereum เท่านั้น และ BRC-20 นั้นไม่สามารถใช้งานกับ Smart contract ได้

และด้วยเหตุนี้ ทำให้ Volume ต่างนั้นมาจาก Collection ไหม่ๆซะมากกว่า ซึ่งในตอนนี้ก็มี Token ในรูปแบบของ BRC-20 อยู่ประมาณ 5,108 Token โดยส่วนใหญ่จะเป็น Ordi, PEPE, และ MEME

โดยรวมแล้ว ecosystem ในการมิ้นและเทรดบน Ordinal ก็ถือว่าโตขึ้นพอสมควร ซึ่งแปลว่าจะทำให้มีการเข้าถึงที่มากขึ้นและง่ายขึ้น

Omni Network

Omni Network เป็น แพลตฟอร์ม interoperability สำหรับ Ethereum Rollup ซึ่งได้รับการระดมทุนไปกว่า $18 ล้าน จาก VC บิ๊กๆอย่าง Pantera, Two Sigma, Jump Crypto, Hashed, and The Spartan Group

เมื่อมี Rollup เพื่มขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้สภาพคล่องของเหล่าผู้ใช้คริปโตกระจายไปอยู่หลายๆแห่ง ซึ่งแพลตฟอร์ม Omni นี่แหละ ที่จะเข้ามาเป็น Abstract Layer ที่จะทำให้ developer สามารถสร้าง cross-chain application ที่จะเชื่อมกับเหล่า rollup ได้ ซึ่ง Rollup ที่ Omni รองรับก็จะมี Arbitrum, Polygon, Starkware, Scroll, and Linea โดยที่ไม่มีชื่อ Optimism

และถึงจะอยู่แค่ในช่วงพัฒนา แต่ Omni ก็ฟังดูจะสามารถเทียบชั้นกับ Axelar ได้เลย โดยที่ Omni นั้นจะมีความปลอดภัยกว่าด้วยการ restaked ETH แทน Token ของตัวเอง และ Omni จะรองรับแค่ Ethereum rollup และไม่รองรับ Layer 1 ตัวอื่นๆ

ที่สำคัญ Omni นั้นเป็นเหมือนโครงสร้างแบบ "Overlay" โดยให้ developer สามารถสร้าง app ที่เข้าถึงระบบ cross-chain และ cross-rollup ได้โดยที่ไม่ต้องไป interact กับตัวเชนโดยตรง

Cr. Messari

Loading...
highlight
Collect this post to permanently own it.
Cryptobobo logo
Subscribe to Cryptobobo and never miss a post.
  • Loading comments...