เมื่อคนอพยพจาก L1 มา L2
ถ้าพูดถึง Layer 2 ใครๆก็จะนึกถึง Arbitrum และ Optimism นั่นก็เพราะส่วนแบ่งของตลาดของ Arbitrum อยู่ที่ 53% ส่วน Optimism มีอยู่ 28%
หลายๆ dApp ก็กำลังเห็นถึงความสำคัญของ Layer 2 ซึ่งนี่ก็เป็นอีกเหตุผลนึงที่ทำให้คนเริ่มอยากขยับเข้ามาใช้ Layer 2 มากขึ้น เช่น
Opensea ประกาศรองรับ Arbitrum (21 กันยายน 2022)
Mathca สามารถใช้งานได้บน Arbitrum (21 กันยายน 2022)
Lido เปิดตัวบนทั้ง Arbitrum และ Optimism (6 ตุลาคม 2022)
ถ้าเทียบกับ zk rollup [Zero Knowledge Rollup] , Optimistic Rollup ได้เปิดตัวในตลาดก่อนและด้วย ตัวเทคโนโลยีที่เข้าใจได้ง่ายกว่า ทำให้ Optimistic Rollup นั้นได้ส่วนแบ่งตลาดไปครอง ซึ่งเราสามารถเห็นถึงค่าใช้จ่ายแก๊สที่สูงขึ้น เมื่อมีการเปิดตัว dApp ดังๆบน Layer 2 เหล่านี้
Arbitrum กำลังเป็นผู้นำใน Layer2
Arbitrum เป็น Layer 2 ที่มี TVL หรือสินทรัพย์บนเชนสูงที่สุดที่ประมาณ 3 หมื่นกว่าล้านบาท, ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา Arbitrum นั้นมี Address ที่เกิดการทำธุรกรรมสูงขึ้นถึง 50% ต่อวันเลย โดย หนึ่งในสาเหตุอาจเป็นเพราะ Nitro อัพเกรด ที่สามารถทำให้เจ้า Layer 2 ตัวนี้ ทำธุรกรรมได้เร็วขึ้น 7-10 เท่าและมีเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลที่ล้ำขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ใช้เสียค่าแก๊สน้อยลง จึงทำให้คนอยากใช้มากขึ้น
หลังจากเหตุการณ์ล่มสลายของ FTX ถ้านับแค่วันที่ 5 พฤศจิกายน วันเดียว การใช้งานของ GMX ที่เป็น Decentralized Exchange และ Perpetual บน Arbitrum + Avalanche ก็มี Volume ของ Margin Trading สูงถึง 5 พันล้านเหรียญหรือประมาณ 1 แสน 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับวันก่อนหน้านี้เป็นการเพิ่มขึ้นถึง 75% อีกเหตุผลนึงที่เป็นแค่ข่าวลือและกลิ่นกาวก็คือการที่ Arbitrum จะเปิดตัวเหรียญตัวเองและอาจมีการ Airdrop ให้กับผู้ใช้
อนาคตใน Ecosystem ของ Ethereum
ถึงแม้การใช้งาน Layer 2 จะเริ่มสูงขึ้น แต่ Layer 2 ก็ยังมีความ Centralized ของ Sequencer, Validators, และ Operator อยู่ แต่ทาง Arbitrum และ Optimism ก็กำลังพยายามอย่างมากเพื่อที่จะเพิ่มเข้ามามีส่วนร่วมใน Security ของ Network ตัวเองอยู่
อย่างทาง Arbitrum ก็พึ่งประกาศการขยายชุด Validator และมีหลายองค์กรเข้ามาร่วมในเน็ตเวิร์คของตัว Arbitrum อีกด้วย ซึ่งนี่จะทำให้ Arbitrum ได้เดินหน้าไปอีกหนึ่งก้าวในการเป็น Decentralized Network ที่มีความปลอดภัยและรองรับการใช้งานได้จริง
ส่วนฝั่ง Optimism ถึงแม้เราจะผิดหวังการกับการปิดตัวของ Quix ไป แต่ Optimism ก็ได้ประกาศตัว OP Stack ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะสามารถใช้สร้างการเชื่อมต่อระหว่างกันของ Blockchain กับทาง Ecosystem ของ Optimism
เพราะ Layer 2 นั้นทำธุรกรรมเองและค่อยไป Settle ใน Ethereum มันจึงอาจจะไม่เจอกับปัญหาจราจรเหมือน Ethereum ตอนพีคๆ และแน่นอนว่าการที่คนเข้ามาใช้ Layer 2 กันมากขึ้นก็เป็นผลดีต่อ Mainnet อย่าง Ethereum เพราะมันเปิดตัวเอง ให้กับการต่อยอดอย่างการ Sharding และ Layer 3 และเพราะ Ethereum ได้ทำการผันตัวเองมาเป็นระบบ Proof-of-Stake (POS) นี่ทำให้การ Sharding นั้นเป็นไปได้และเมื่อทำสำเร็จ ค่าแก๊สของ Ethereum ก็จะลดลงเป็นอย่างมากและผู้ใช้ก็จะไม่ต้องมาบ่นทุกครั้งที่กดปุ่ม Approve และเมื่อสามารถรันธุรกรรมได้เป็นปริมาณที่มากขึ้น นี่แหละที่จะเป็นการเปิดทางให้กับการพัฒนา Layer 3 และ dApp เพื่อต่อยอดเน็ตเวิร์คต่อๆไป
ที่มา: Messari