Mantle Network
Mantle Network เป็น Modular Ethereum Layer 2 ที่ใช้ Optimistic Rollup หรือก็คือเป็นพี่น้องกับ Arbitrum และ Optimism นั่นเอง
Rebrand
โดยทาง Mantle นั้นก็ได้มีการรีแบรนด์จาก BitDAO โดยจะเปลี่ยนเหรียญ BIT ของตัว BitDAO มาเป็นเหรียญ MNT ที่จำใช้ต่อกับ Mantle Network ทั้งหมด
BitDAO เป็น DAO ที่มุ่งเน้นไปในการสนับสนุนโปรเจ็ค web3 ไม่ว่าจะเป็นผ่านการลงทุนหรือ Partnership แปลว่าจากการรีแบรนด์นี้ Mantle ก็จะได้อนิสงค์จาก community ของตัว BitDAO ไปด้วย
Funding
แน่นอนว่า Mantle Network นั้นไม่ได้มีการระดมทุนใดๆ เพราะได้มี BitDAO เป็นผู้พัฒนามาตั้งแต่เริ่มแล้ว เพราะฉนั้นเราก็ต้องมาดูที่ BitDAO ที่กำลังจะรีแบรนด์ไปเป็น Mantle ซะหน่อยว่าเงินหนาแค่ไหน
ก่อนอื่นเลย BitDAO ได้ทำการระดมทุนไปประมาณ $230 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยได้รับการลงทุนจาก VC ชื่อดังหลายเจ้า ไม่ว่าจะเป็น Pantera Capital, Dragonfly Capital, Bybit, Jump Capital และอีกมากมาย
แต่เดี๋ยวก่อน เพราะที่บอกว่า BitDAO นั้นเงินหนา ไม่ได้หมายถึงเงินที่ระดมทุนมา แต่คือเงินใน Treasury ของ BitDAO
BitDAO มีเงินใน Treasury ทั้งหมด 2.18 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7.5 หมื่นล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญ BIT แต่ถือ ETH และ Stable Coin อยู่รวมกันกว่า 793 ล้านเหรียญสหรัฐ
และอีกอย่างนึงที่บางคนอาจจะยังไม่รู้คือ BitDAO นั้นถูกก่อตั้งขึ้นโดย Bybit กระดานเทรดคริปโต
Ecosystem Fund
Mantle Network ได้เปิดให้โหวตเพื่อจะเปิดตัวโปรแกรม Ecosystem Fund ที่จะนำเงินกว่า $200 ล้านเหรียญไปลงทุนในโปรเจ็คและ dApp ต่างๆที่จะมาสร้างบน Mantle Network และก็ดูเหมือนการโหวตครั้งนี้น่าจะผ่านไปได้ด้วยดี
และ Ecosystem Fund รอบนี้ก็ได้มีการร่วมมือจาก Mirana Venture ที่เป็นบริษัท VC ลูกของ Bybit มาช่วยดูแลและลงทุนอีกด้วย
แปลว่า dApp ต่างๆที่น่าสนใจที่จะมาสร้างบน Mantle ก็จะไม่จำเป็นต้องห่วงเรื่องของเงินลงทุนและอย่างที่ทุกคนรู้ดีว่า เมื่อมีการระดมทุนก็มีโอกาสสูงที่จะมี แอร์ดรอปปปปปป!!!
กาว EigenLayer
EigenLayer สรุปง่ายก็คือ protocol ที่สามารถ restake ETH ได้ ทำให้สามารถยืม security หรือความปลอดภัยจากเชน Ethereum Mainnet มาใช้ ไม่ว่าจะเป็น L1, L2 หรือ dApp ต่างๆ
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Eigenlayer ที่โบ้สรุปไว้ได้ ที่นี่
คราวนี้เรามาดูกันว่า Mantle และ Eigenlayer นั้นสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไร และผู้ใช้แบบเราๆนั้นได้อะไรจาก Partnership นี้
Eigenlayer นั้นมี product ชื่อว่า EigenDA เป็น Decentralized Data Availability Layer ที่สามารถนำมาเชื่อมกับเชน Layer 2 เพื่อยืมเอาความ Decentralized และ Security มาจากเชน Ethereum ทำให้ธุรกรรมบนเชน L2 นั้นๆใช้ค่าแก๊สน้อยลงถึง 80% ของ L2 ตัวอื่นๆบางตัวได้เลย
แปลว่าเราอาจจะได้ความเร็วในธุรกรรมที่เทียบเท่ากับ Arbitrum ในราคาแก๊สของ Polygon และยังมีความปลอดภัยจาก Ethereum Mainnet มารวมอยู่ใน Mantle ได้เลย และนี่อาจจะเป็นเหตุผลที่โปรเจ็ค gaming เข้ามาสร้างบน Mantle
Dual Staking
และด้วยการร่วมมือจาก Eigenlayer ทาง Mantle ก็มีไอเดียไหม่หรือที่เรียกว่า Dual Staking ที่สามารถให้เราทำการ Stake เหรียญ MNT ของ Mantle ได้
โดยปกติแล้วบน Eigenlayer ตัว node จะทำการ restake ETH เพื่อเป็น validator ให้กับ EigenDA และในวิธีที่คล้ายๆกัน ทาง Mantle ก็จะสร้าง contract พิเศษขึ้นมาให้คนเข้าไป Stake เหรียญ MNT เพื่อรัน node ให้กับ EigenDA เพื่อรับ Yield ได้
หรือสรุปง่ายๆก็คือ Mantle จะกลายมาเป็น Proof-of-Stake ของตัวเองที่สามารถใช้การ Stake MNT เพื่อเป็น validator เพื่อใช้ประมวลผล rollup บนเชนตัวเองจากการช่วยเหลือของ Eigenlayer ได้
ซึ่งถ้าเราเข้าไปในเว็ปของ Mantle เราก็จะเห็นได้ว่าจะมี tab ที่เขียนว่า LSD soon อยู่ ซึ่งก็อาจจะหมายถึงการ Staking ของ MNT ก็เป็นได้
เหรียญ MNT
เหรียญ MNT ของ Mantle Network จะมี Utility หลักๆอยู่สามอย่าง
ใช้โหวต Governance
ใช้จ่าค่าแก๊สในการทำธุรกรรมบน Mantle Network
ใช้ Stake เพื่อรัน node บน Mantle Network
โดยที่ Mantle Network จะมีการปล่อยเหรียญออกมาตอน Launch Mainnet ที่ประมาณ 6,219,316,768 เหรียญ โดยจะแบ่งเป็น Circulating Supply 51% และเก็บไว้ใน Treasury อีก 49%
ซึ่งใน 49% ที่แบ่งไว้ใน Treasury ก็ได้แบ่งเก็บไว้ใช้ดังนี้
User Incentive - หรือแอร์ดรอปที่หลายๆคนรอคอยนั่นเอง โดยที่จะมาในรูปแบบ Quest ในส่งเสริทการใช้งาน Mantle Ecosystem และจะมีเกณฑ์ในการแจกเป็น Daily Active User, TVL, Total Transaction และ protocol fees
Technology Partner Incentive - ฝั่งนี้จะเป็นคล้ายๆกับ ecosystem fund ที่แจกจ่ายให้ฝั่ง dApp และ Infrastructure ต่างๆที่เข้ามาสร้างบน Mantle
Core Contributors and Advisors - ทีมงานที่ contribute ให้กับโปรเจ็คและ advisor
Other Opportunity - เก็บไว้ใช้ในโอกาสอื่นๆ เช่นการเข้าซื้อโปรเจ็ค, Token swap, หรืออื่นๆ
และในตอนนี้ Supply ของ MNT ก็เป็น Fixed Supply แปลว่าจะไม่มีการ Mint เพิ่ม เว้นแต่จะมีการโหวตจาก Governance ทำให้ Inflation rate จะเป็น 0% และเมื่อบวกกับการใช้ MNT เป็นค่าแก๊สก็จะเท่ากับว่า Supply ของ MNT จะลดลงตามกาลเวลา
*ถ้าให้ลองเดาเกณฑ์การแจกแอร์ดรอปของ Mantle อาจจะมาคล้ายๆกับ Arbitrum ที่เปิด Mainnet นำมาก่อน และผลักดันให้คนเข้ามาใช้งาน dApp และ Ecosystem ของ Mantle โดยจะมีทั้งการแจกโดยตรงให้ผู้ใช้ตามเกณฑ์และแจกให้โปรเจ็คไปแจกต่อให้ผู้ใช้
dApp และ Ecosystem
น่าแปลกใจนิดหน่อยที่ไม่ค่อยมี OG Defi เช่น Uniswap หรือ Sushiswap ประกาศสร้างบน Mantle เท่าไหร่ แต่ก็อาจจะเป็นไปได้ว่า ทางโปรเจ็คเหล่านี้อาจจะอยู่ในช่วงเตรียมตัวและอาจจะประกาศเร็วๆนี้ก็เป็นได้
ถึงอย่างไรก็ตาม วันนี้ก็จะหยิบยกโปรเจ็คบางตัวที่กำลังสร้างบน Mantle และอาจจะมีอะไรให้พวกเราได้เข้าไปทำกัน
*dApp บางตัวจะมีการนำไปโพสเป็นเควสบนดิสคอร์ด อย่าลืมไปทำกันด้วยน้า
FusionX
FusionX เป็น Decentralized Exchange ที่เป็น native Dex บน Mantle ซึ่งตอนนี้ก็อยู่ในช่วง Incentivized Testnet
Rivera Money
Rivera Money เป็น Liquidity Infrastructure บน Mantle ที่เราสามารถเข้าไปฟาร์ม LP กันได้นั่นเอง ซึ่งได้ข่าวว่าจะกลับมาเปิด Incentivized Testnet เร็วๆนี้
Galador
Galador เป็น Native Dex และ Liqudity Infrastructure บน Mantle ที่มี Incentivized testnet อีกตัวนึง และทางโปรเจ็คก็มีการคอนเฟิร์มแอร์ดรอปอีกด้วย ส่วนเกลือไม่เกลือก็ต้องไปรอลุ้นกัน
Souffl3
สาย Aptos และ Sui คงคุ้นตากับ Souffl3 ที่เป็น NFT Marketplace บนภาษา Move ที่กำลังเข้ามาสร้างบน Mantle
นอกจากนี้ยังฝั่ง Gaming อีกประมาณ 24 โปรเจ็คที่กำลังสร้างบน Mantle ซึ่งเหตผลที่เกมส์เหล่านี้เข้ามาสร้างบน Mantle ก็เพราะความเร็วและความถูกของธุรกรรมบน Mantle ที่อาจจะมีความเหมาะสมในการเป็นบล๊อคเชนสำหรับ Gaming
และด้วยการรวมเข้ากับ BitDAO ที่มีทั้ง Game7 และ Hyperplay ที่เป็นเหมือน Foundation สำหรับการสร้าง web3 Gaming ทำให้หลายๆทีมสนใจที่สะมาสร้างเกมส์บนเชน Mantle
สรุป
ถึงแม้จะมี EVM Layer 2 มากมายในตลาดตอนนี้และก็มี zkEVM ที่กำลังผุดขึ้นอีกเยอะ แต่ Mantle Network ก็เป็นอีกตัวที่อาจจะ outperform หลายๆตัวเพราะการเข้า Integrate กับ Eigenlayer ซึ่งจะช่วยให้การใช้งานบล๊อคเชนไร้รอยต่อมากขึ้น
รวมไปถึงตัวเหรียญที่มี Utility หลากหลาย ซึางฉีก concept ออกจาก Optimistic rollup คู่แข่งอย่าง Arbirum และ Optimism ที่ตัวเหรียญสามารถใช้โหวต Governance ได้อย่างเดียว
และเราก็รู้อยู่แล้ว ว่าโลกบล๊อคเชนนั้นเดินหน้าด้วย Incentive และ Mantle ก็เป็นโปรเจ็คที่มีแบ๊คใหญ่และทุนหนา เพราะฉนั้นก็เป็นไปได้ว่าจะมีคนเข้ามาใช้งานเพื่อเก็งเอาแอร์ดรอป
ถึงอย่างไรก็ตาม ก็มีความผิดหวังอยู่น้อยๆ ถ้าดูจากจำนวน dApp ที่จะเข้ามาสร้างบน Mantle เพราะส่วนใหญ่ก็เป็น Native Protocol ที่เข้ามาเอา Ecosystem Fund ซะส่วนใหญ่ ซึ่งเราก็ต้องตามดูต่อไป ว่าจะมีโปรเจ็ค Defi OG ขยายมาเพิ่มใน Mantle บ้างหรือไม่