
🌠ธีมในปีนี้

🏖️การระดมทุนให้กับเกมบล็อกเชนส่วนใหญ่จะเน้นไปทางโครงการที่รองรับการทำงานแบบ EVM เป็นหลัก โดย Immutable X และ Polygon ถือว่าเป็นสองเจ้าใหญ่ที่ทำคะแนนได้ดีจนเกือบเทียบเท่าเชนหลักอย่าง Ethereum
🏖️อีกเทรนด์หนึ่งก็คือการออกแบบเกมบล็อกเชนที่เป็นเจ้าของเอง ปรับแต่งได้อย่างอิสระ ตัวอย่างเช่นการใช้ Polygon Supernet หรือ Avalanche Subnet เป็นต้น การล่มสลายของ FTX และ Terra ก็มีส่วนช่วยในการคัดกรองโครงการ GameFi ดี ๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่ และคาดว่าวงการนี้น่าจะค่อย ๆ แข็งแกร่งขึ้นในปีที่จะถึง

🏖️นับตั้งแต่ต้นปี 2022 เกมบล็อกเชน 10 อันดับแรก ที่มี Market cap สูงที่สุดก็ยังราคาตกกันไปแล้วสูงสุดถึง 95% ซึ่งเหตุผลหลัก ๆ ก็มาจากการที่ยังไม่มีเจ้าไหนที่สามารถออกแบบ Tokenomics/ดึงดูดฐานผู้ใช้ให้อยู่นาน ๆ ได้เลย

🏖️ Axie Infinity คือเกมบน Web3 ที่มียอดผู้ใช้งานเยอะมากที่สุดในโลก และเคยเก็บค่าธรรมเนียมได้สูงกว่าบล็อกเชน Bitcoin และ Ethereum รวมกันเสียอีก แต่หลังจากต้นปี 2022 เป็นต้นมา ทางโครงการก็ถือเป็นช่วงขาลงมาตลอดทาง เนื่องจากมีแต่ผู้เล่นที่หวังเข้ามาทำกำไรจากเกม
🏖️แต่ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่สูงมากในระบบ กำไรก็น้อยลง ผู้เล่นก็เลยค่อย ๆ ทยอยหายไป แถมยังมีเรื่องการโดน Hack Ronin bridge อีก เรียกได้ว่าโดนมาหนักทีเดียว เราต้องมารอดูกันว่าการอัปเดต Axie Origins และการเชิญชวนกลุ่มคนภายนอกเข้ามาร่วมพัฒนาเกมนั้นจะช่วยชุบชีวิต Axie ในปี 2023 ได้หรือเปล่า

🏖️STEPN คือเกม Move-to-earn แบบง่าย ๆ แค่ออกไปวิ่ง เปิดตัวปลายปี 2021 และมาเริ่มบูมหนักในช่วงมีนาคม 2022 แต่สุดท้ายก็เหมือนเดิม พอมีคนเล่นเยอะขึ้น ก็มีแต่การเก็งกำไร จนเกิดเงินเฟ้อขึ้นซ้ำ ๆ ทำให้ราคาเหรียญ GMT ร่วงลงในพริบตา และยังไม่มีแววที่จะกลับมา อย่างไรก็ตาม ทางทีมงานก็พยายามอัปเดตกลไกใหม่ ๆ อย่างการจำกัดการออกเหรียญและระบบป้องกันการโกงเข้าไปเพื่อยังไม่ให้โครงการตายไปเฉย ๆ
🏖️ STEPN ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของกระแสตอบรับในโลก Web3 เพราะมีผู้ให้ความสนใจเป็นวงกว้างมาก ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่เล่นเกมเพียงอย่างเดียว แต่เราก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าโครงการนี้จะกลับมาประสบความสำเร็จได้ไหม หลังจากที่ได้หันหัวเรือมาโฟกัสทางด้าน Lifestyle ของผู้ใช้งานอย่างเต็มตัว

🏖️Sorare คือโครงการที่ระดมทุนไปได้ถึง $680m ในปลายปี 2021 แต่กลับเจาะตลาดกลุ่มใหญ่ไม่ได้ จนส่งผลให้ราคา Floor price ของ NFT ในเกมร่วงลงมากว่า 90% ถึงอย่างนั้น ทางโครงการก็ยังเดินหน้าจับมือพันธมิตรอย่าง NBA และ MLB ต่อ จนทำให้มียอดผู้สมัครใช้งานสูงถึง 1.8 ล้านคน และด้วยการผสมผสานระหว่างการใช้งานที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน รวมกับประสบการณ์การใช้งานบนแพลตฟอร์มที่ทันกระแสหลัก จึงทำให้ Sorare ดึงดูดผู้ใช้งานเข้ามาได้ และทำให้มียอดเงินฝากเข้าจากผู้ใช้มากกว่าถอนออก ส่งผลให้ตัวเกมยังคงทำงานได้ต่อไปเรื่อย ๆ
🏖️ยอดการโอนจากกระเป๋าที่ไม่ซ้ำกันเผยให้เห็นว่า Sorare มีผู้ใช้งานอยู่ไม่เยอะมาก แต่ว่าจำนวนนี้ก็ถือว่ามากกว่าตลาดซื้อขายภายนอกเกิน 10 เท่าแล้ว สิ่งนี้บ่งบอกให้เห็นว่า Sorare ทำได้ดีในการเป็นเจ้าของตลาด NFT ที่ตัวเองออกแบบเอง แล้วยิ่งเร็ว ๆ นี้มีเรื่องค่าลิขสิทธิ์ที่หาดหายลงไปอีก ก็หวังว่าโครงการเจ้าอื่น ๆ จะลองนำโมเดลของ Sorare มาปรับใช้ดูบ้าง เพื่อที่จะได้ยังครองกระแสรายได้จาก NFT ของตัวเอง

🏖️ตอน Play-to-earn บูม ๆ ก็ได้เริ่มมีกลุ่มที่หวังจะใช้ประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจนี้ในการทำกำไรขึ้นมา ผ่านสิ่งที่เรียกว่า Gaming guild ซึ่งเป็นเหมือนการที่คนรวยนำเงินไปลงทุนและจ้างให้ผู้ที่เป็น ‘Scholar’ เล่นแทน ซึ่งก็บอกไว้เลยว่ามันช่วยหารายได้เสริมได้จริงในช่วงวิกฤตโควิด แต่หลังจากนั้นเมื่อผลกำไรในเกมลดลงไป วงการ NFT scholarship ก็ซบเซาลงไปด้วย ราคาเหรียญโครงการจำพวก Guild เลยร่วงตาม ๆ กัน และหลาย ๆ Guild ก็ยังคงต้องดิ้นรนเพื่อให้อยู่รอดต่อไปได้ ณ ปัจจุบัน

🏖️ กระแส GuildFi มาบูมในช่วงจุดพีคสุดของ Play-to-earn (Q4 2021) ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ ตัวอย่างเช่น GuildFi ที่ประสบความสำเร็จในตอนนั้นก็ระดมทุนไปได้สูงถึง $140m ภายในเวลาเพียง 72 ชั่วโมงเท่านั้นน ก่อนที่ราคาจะค่อย ๆ ร่วงลงเรื่อย ๆ อย่างที่เรารู้กัน
🏖️แต่ยิ่งเม็ดเงินมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีการลงทุนในเกมบล็อกเชนมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งในช่วงนั้นการจับมือระหว่าง Guild และเกมบล็อกเชนระยะเริ่มต้นถือเป็นความสัมพันธ์ที่ได้รับผลประโยชน์ร่วมกันทั้งคู่ เรียกได้ว่า Win-win ทั้งสองฝ่าย จะเห็นได้เลยว่าอย่างน้อย GameFi 1 เจ้า จะต้องมี Guild 1 เจ้าร่วมด้วยเสมอ

🏖️Guild ถือเป็นส่วนสำคัญของเกมออนไลน์ โดยมีไอเดียตั้งอยู่ที่การสร้างชุมชนคนเล่นเกมขึ้นมา คุณค่าของ Guild ไม่ได้อยู่ที่เม็ดเงินลงทุน หากแต่เป็นจำนวนและคุณภาพของผู้ที่เข้าร่วม Guild ที่มีชุมชนแข็งแกร่งก็มีแนวโน้มที่จะขยายฐานผู้ใช้งานและบุกเบิกอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ได้ เช่น Esport การทดสอบเกม หรือเป็นศูนย์รวมเกม เป็นต้น
🏖️รายได้จาก Web3 Guilds อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอและมีความเสี่ยงมากสำหรับวงการ GameFi ในปัจจุบัน ดังนั้น Guild ต่าง ๆ อาจต้องปรับปรุง Core value กันใหม่ วางตัวเองให้แตกต่างจากกลุ่มอื่น ๆ เพื่อที่จะได้สู้ต้อได้ในตลาดในอนาคตอันใกล้ที่จะถึง

🏖️Metaverse ก็ถูกพูดถึงจนกลายมาเป็นกระแสหลักในปีที่ผ่านมา ด้วยการคาดการณ์ว่าที่ดินบนโลกเสมือนจะมีมูลค่าหลักล้านล้านภายในปี 2030 เนื่องจากการเดินหน้าอย่างเต็มตัวของ Meta จนกระแสนี้ทำให้นักลงทุนเชื่อมันสุดขีดจนทำให้ Decentraland และ Sandbox ได้รับความสนใจขึ้นมาในทันที
🏖️อย่างไรก็ตามการเติบโตในครั้งนี้ถือว่าไม่ยั่งยืนเท่าไรนัก เพราะในความเป็นจริงแล้ว สินค้าจริง ๆ ที่มีอยู๋นั้นไม่ได้ล้ำสมัยมากพอที่จะตอบรับความคาดหวังของผู้คนตรงนี้ได้ สุดท้ายแล้วตลาดก็เลยปรับฐานลงไปตามความเป็นจริงของโลก ทั้งด้านราคาและปริมาณการซื้อขาย เช่นในบางกรณีที่ราคาร่วงลงไปเกิน 99% ด้วยซ้ำ อีกทั้งปริมาณการซื้อขายก็หดหายไปกว่า 77% นับตั้งแต่ต้นปี 2022

🏖️ถึง Metaverse จะฟองสบู่แตกไปแล้ว เนื่องจากไม่ได้มีคนเล่นมากขนาดนั้น ร่วมกับตลาดหมีของคริปโต แต่ว่าการตีมูลค่าของโครงการ Metaverse อย่าง The Sandbox และ Decentraland ก็ยังสูงมากและถือว่าห่างไกลจากคู่แข่ง Web2 อย่าง Roblox แบบเห็นได้ชัด
🏖️โดยเฉพาะอย่าง Sandbox ที่มีโอกาสจะเติบโตได้จริง จากการที่มีพันธมิตรภายนอกเข้ามาเรื่อย ๆ และกำลังพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ถ้าโครงการเหล่านี้ยังคงรักษาฐานผู้ใช้งานได้ ก็ไม่แน่ว่าราคาที่ดินอาจกลับมาสูงอีกครั้งก็ได้ในอนาคต
🌠เหตุการณ์ใหญ่ในปี 2022

🏖️มีนาคม 2022 Hacker ได้เจาะระบบของบริษัท Sky Mavis หรือ Ronin sidechain เข้าไปได้ ซึ่งเป็นบล็อกเชนที่ออกแบบมาเพื่อเกม Axie Infinity โดยตรง Hacker ได้เข้าควบคุมผู้ตรวจสอบในระบบมากกว่าครึ่ง (5 ใน 9) จนเป็นเหตุให้สามารถสร้างธุรกรรมถอนเงินออกไปได้ ทำให้ระบบโดนขโมยเงินไปกว่า 173,600 ETH และ 25.5M USDC ซึ่งตีเป็นเงินสูงถึง $625M ในขณะนั้น
🏖️เหตุการณ์นี้ถือเป็นการโดนเจาะระบบครั้งใหญ่ที่สุดของโลกบล็อกเชน โดยนักสืบคริปโตก็ตามหาตัวการจนได้ข้อมูลมาว่ามีความเกี่ยวพันกับกลุ่ม Hacker จากเกาหลีเหนือ Lazarus group

🏖️การกำกับดูแลเกมบล็อกเชนก็ยังคงคลุมจนถึงปัจจุบัน แต่ในปี 2022 เราก็เริ่มเห็นความเคลื่อนไหวของคณะกำกับดูแลจาก US บ้างแล้ว เช่น SEC ที่กำลังศึกษาตลาดคริปโตที่นอกเหนือไปจาก DeFi อย่าง Yuga Labs ที่ก็กำลังโดนสอบสวนอยู่ว่า NFT และ ApeCoin ที่ออกโดยบริษัทจะถูกตัดสินให้เป็น “หลักทรัพย์” หรือเปล่า เพราะถ้าใช่ หลังจากนี้การออก NFT แต่ละชิ้นก็ต้องตามมาด้วยการทำเอกสารทางกฎหมายมากมาย ซึ่งก็คงไม่เป็นผลดีต่อ Startup แน่ ๆ
🏖️อย่างไรก็ตาม ถ้าใช้วิธีการขาย NFT แบบซื้อขายภายในแอปฯ หรือใช้ประโยชน์จากช่องทางขายแบบภายในเกม บางทีก็อาจยังพอเป็นช่องทางหลีกเลี่ยงได้บ้างในช่วงแรก ๆ นี้ ที่สิ่งต่าง ๆ ยังคลุมเครือ

🏖️ Epic Games บริษัทที่เป็นเจ้าของ Fortnite และ Epic Games Store (EGS) ได้เปิดทางให้กับเกมบล็อกเชนเข้ามามีหน้ามีตาได้บนแพลตฟอร์ม EGS ของตัวเองอย่างเกม Blankos Block Party ซึ่งการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของบริษัทเลยจากที่แต่ก่อนยังคงลังเลกับวงการเกมบล็อกเชน
🏖️ Apple ได้อัปเดตข้อบังคับของ App Store เกี่ยวกับเหรียญคริปโตเคอร์เรนซีขึ้นมา โดยระบุไว้ว่าแอปฯ สามารถขาย NFT หรือสินค้าที่เกี่ยวข้องได้ผ่านทางการซื้อขายภายในแอปฯ (IAP) แต่ว่าต้องเสียค่าธรรมเนียม 30% อย่างไรก็ตาม App Store มีกฎว่าทางแอปฯ จะไม่สามารถแปะลิงค์เพื่อดึงผู้ใช้ออกไปแพลตฟอร์มภายนอกได้ และการซื้อขายที่ไม่ได้ผ่าน App Store จะไม่สามารถนำมาปลดล็อค Content ใด ๆ ในแอปฯ ที่ดาวน์โหลดผ่านทาง App Store ได้
🌠โมเดลธุรกิจใหม่ที่เกิดขึ้น

🏖️On-Chain Gaming เป็นพื้นที่ใหม่ของวงการบล็อกเชน ที่ยังมีความเสี่ยงสูงมากในการเข้าไปพัฒนาตัวเกม รวมไปถึงการประเมินมูลค่าของตลาดนั้นก็ยังคงไม่แน่นอน แต่พื้นที่นี้ก็ถือว่ามีโอกาสเติบโตได้ รอให้นักพัฒนาเข้ามาค้นพบ ปัจจุบันเกมบล็อกเชนแบบ On-chain จริง ๆ ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดก็คือ Dark Forest เกมสำรวจอวกาศแบบ RTS ที่ถือเป็นต้นตำรับบุกเบิกสายงานนี้

🏖️1. บล็อกเชนถูกใช้ในการดึงข้อมูล Game data จริง ๆ ไม่ได้เป็นเพียงแค่ที่เก็บข้อมูลส่วนเสริมหรือเป็นเพียงที่เก็บข้อมูลสำรองเท่านั้น
🏖️2.ลอจิกของเกมและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ถูกเขียนโดยใช้สมาร์ทคอนแทรคทั้งตัว NFT และตัวเกม
🏖️3.เกมถูกออกแบบโดยใช้ระบบนิเวศแบบเปิด แสดงโค้ดให้เห็นชัดเจน (Open-source)
🏖️4.เปิดโอกาสให้นักพัฒนาภายนอกปรับแต่งเกมได้อิสระ (คล้าย ๆ การทำ Mods)
🏖️5.เกมต้องไม่ยึดติดกับตัว Client ถ้าเกิดทีมพัฒนาหลักไม่อยู่ก็สามารถเล่นต่อไปได้

🏖️Dark Forest
🏖️0xPARC
🏖️Topology
🏖️Lattice/Ludens
🏖️Matchbox
🏖️Playmint
🏖️Influence

🏖️Limit Break สตูดิโอเจ้าใหม่จาก Gabe Leydon เพิ่งได้เงินระดมทุนไปสูงถึง $200M จากนักลงทุนชั้นนำ และได้ประกาศสร้างเกมใหม่พร้อมกับโมเดล “ครอบครองได้ฟรี (Free-to-Own)” ซึ่งจะเป็นการแจก NFT ให้กับผู้เล่นแทนที่จะเปิดขายตามตลาดทั่วไป โดย NFT ที่ได้รับนี้ก็จะถูกนำไปสร้าง "factory NFTs" เพิ่มเติม ที่ชื่อว่า DigiDaigakus
🏖️ อย่างไรก็ตาม โฉมหน้าเต็ม ๆ ของเกมก็ยังไม่ได้ถูกปล่อยออกมาให้เห็น แต่ว่าโมเดล Free-to-Own นี้อาจช่วยแก้ไขปัญหา Free-to-play และกฎระเบียบข้อบังคับได้บ้าง เราคงต้องรอติดตามกันในปี 2023 นี้ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ดูท่าจะเอาจริง เพราะมีการลงทุนยิงโฆษณากับ Super Bowl เลยทีเดียว

🏖️โมเดล PlayFi ที่บุกเบิกโดย NOR คือการทำเงินโดยยังปกป้องแก่นหลักของตัวเกมอยู่ จะไม่ให้เงินมามีส่วนเกี่ยวข้องเป็นอันขาด โดยตัวเกมจะเน้นไปที่การหารายได้ผ่านการพนัน การถ่ายทอดสด การขายตั๋ว และการกินส่วนแบ่งจากเงินรางวัลแทน โมเดลนี้ถือว่าอิงมาจากวงการ Esport โดยตรง
🏖️PlayFi ถือเป็นอีกส่วนที่น่าจับตามองในการนำมาใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีบน Web3 เพื่อให้วิธีการทำเงินอย่างที่ได้กล่าวไปนั้นสะดวกสบายและทันสมัยมากขึ้น อีกทั้งการให้ NFT เป็นตัวแทนของผู้เล่น ก็สามารถช่วยหาสปอนเซอร์ได้ไปในตัว
🏖️ ปัจจุบันโครงการที่ทำด้านนี้อยู่ก็จะมี NOR และ Stadium

🏖️2023 ยังไม่ถูกมองว่าเป็นปีของเกมบล็อกเชนซะทีเดียว เพราะว่าเกมระดับ AAA ยังคงซุ่มพัฒนาอยู่อีกหลายเจ้าและยังมีปัญหาในด้านของการจัดจำหน่าย การกำกับดูแล และ UX/UI ที่ไม่แน่นอน แต่ก็ยังถือว่าไม่หมดหวัง เพราะ 2 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรม GameFi ก็ได้รับเงินระดมทุนไปได้สูงถึง $7B
🏖️แต่ว่าอนาคตของ Web3 ยังคงสดใส เจ้าดัง ๆ อย่าง Twitter และ Reddit ก็เริ่มหันมาลงเล่นในวงการนี้กันแล้ว ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้คงมีความเคลื่อนไหวมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเช่น Polygon ที่ได้จับมือกับแบรนด์ดังอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงหัวหน้าทีม Gaming จาก YouTube อย่างคุณ Ryan Wyatt