🌠สถานะในปัจจุบันของ DeFi และอนาคตต่อจากนี้
🏖️โครงการ DeFi หลายเจ้าต่างประสบปัญหาและปั่นป่วนอย่างมากในปี 2022 ขนาด DeFi บน Ethereum เจ้าท็อป ๆ ก็ยังราคาตกกันแบบยับ ๆ TVL หดหายกันไปมากกว่า -75% จาก ATH
🏖️แต่ DeFi ก็ยังมีเม็ดเงินหมุนเวียนบนเชนมากที่สุดอยู่ดี อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับการเงินชีวิตจริงแล้ว (TradFi) DeFi ยังเป็นเพียงเหมือนน้องเล็กเท่านั้น ที่มีผลิตภัณฑ์ชื่อดังติดตลาดคือ 1. Decentralized Exchange Dex 2. Money Market
🌠DEX เติบโตมาไกลแล้ว เพียงแต่ช่วงนี้อาจดูเงียบ ๆ ไปบ้าง
🏖️ DEX เติบโตมากที่สุดในปี 2021 โดยมีจุดพีคอยู่ที่กลางปี 2021 บนเชน Ethereum ซึ่งโครงการ Ethereum DEX ทั้งหมดนับตั้งแต่ปี 2020-2022 นั้นมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยสูงถึงปีละ 402% กันเลย
🏖️แต่เดือนหลัง ๆ จนถึงสิ้นปี 2023 ปริมาณการซื้อขายบน DEX ได้ลดลงเรื่อย ๆ ไม่มีหยุด ส่งผลกระทบต่อ DeFi เป็นวงกว้าง ถึงอย่างนั้น DEX บน Ethereum ก็ยังมีปริมาณการซื้อขายรายเดือนสูงถึง $30-40B อยู่ดี ซึ่งเรียกได้ว่ายังเป็นจำนวนที่เยอะอยู่ในช่วงนี้
🌠กระแสเริ่มซาลง ตลาด DeFi ก็ซบเซาลงไปด้วย
🏖️โครงการ DeFi ยักษ์ใหญ่อย่าง AAVE, Compound, และ Maker มีการเติบโตที่เยี่ยมยอดมาตลอด 3 ปี แต่ในช่วงหลัง ๆ ก็ซบเซาลงไปเหมือนกันตามสภาพตลาด เพราะ DeFi ในปัจจุบันยังต้องเผชิญกับอุปสรรคดังต่อไปนี้อยู่
1. DeFi เจ้าที่มีคนใช้งานเยอะส่วนใหญ่มาจากคนที่เข้ามาเก็งกำไรทั้งนั้น
2.การดึงดูดผู้ใช้ใหม่เข้ามาเป็นเรื่องยาก เพราะต้องมีการศึกษาที่ลึกอยู่พอสมควร ใช่ว่าจะ Log-in แล้วใช้งานได้ทันที
3.การคงจำนวนผู้ใช้ให้ยังอยู่กับแพลตฟอร์มถือเป็นเรื่องท้าทาย
4.ประสบการณ์ในการใช้งานของผู้ใช้ยังห่างไกลจากภาพที่มันควรจะเป็น (ปัจจุบัน UX/UI ยุ่งเหยิง)
🏖️การพัฒนาของ DeFi ต้องใช้เวลาอีกนานหลายปี เพื่อที่จะไปให้ถึงจุดมุ่งหมายที่สูงที่สุด ซึ่งก็คือการที่ผู้ใช้ทุกคนมีสิทธิในการควมคุนสินทรัพย์ของตัวเองได้จริง ๆ ในแบบที่โปร่งใสและไร้พรหมแดน
🌠DeFi ไปต่อ!: ธีมเพื่อโลกอนาคต
🌠1.ผู้คนเริ่มหมดความเชื่อมั่นกับ CEX แล้วหันไปซบ DEX
🏖️จำนวนผู้ใช้งานบน DEX เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเนื่องจากผู้คนเริ่มหมดความเชื่อใจแพลตฟอร์ม CEX เนื่องจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปีที่แล้ว เช่นการล่มสลายของ FTX และผลกระทบที่ส่งผลต่อตลาดโดยรวม
🏖️ Dex ต่าง ๆ อย่าง Uniswap, 0x, Curve, dYdX, และ GMX จึงมีโอกาสพิสูจนตัวเองว่ามีความปลอดภัยมากกว่า ด้วยความไร้ศูนย์กลางของแต่ละแพลตฟอร์มนั่นเอง จึงทำให้ไม่สามารถมีกลุ่มคนกลุ่มเล็ก ๆ คอยบงการและขโมยเงินอยู่เบื้องหลังได้แบบ Sam Bankman-Fried
🏖️ อีกทั้งยังเป็นระบบบล็อกเชนที่ช่วยเพิ่มความโปร่งใส ช่วยให้มีการตรวจสอบโครงการ DeFi ได้ง่าย ๆ หากมีอะไรแปลกปลอมขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ข้อเสียหลัก ๆ เพียงอย่างเดียวที่ DEX ยังเป็นรอง CEX อยู่ก็คือเรื่องของ UI ที่อาจดูใช้งานยากกว่า CEX อยู่พอสมควร ดังนั้นอนาคตถ้ามี DEX ที่ออกแบบ UI ใช้งานง่ายออกมาก็คงน่าสนใจเลยทีเดียว
🌠1.2 AMM เริ่มกินส่วนแบ่งมากกว่า Order boox อย่างชัดเจน
🏖️ Automated Market Maker (AMM) ที่ทำงานโดยสมาร์ทคอนแทรคอย่าง Uniswap และ Curve ถือเป็นผู้นำในโลก DEX อยู่ในด้านของสภาพคล่องและปริมาณการซื้อขาย ส่วนทางฝั่งของ Orderboox DEX ที่ทำงานโดยการจับคู่คำสั่งซื้อขายแบบดั้งเดิมก็จะมี 0x และ dYdX ซึ่งได้รับความนิยมน้อยกว่า ซึ่งจากกราฟเราจะเริ่มเห็นได้ว่าพอเทียบ Top 2 ของแต่ละสาย ส่วนแบ่งตลาดจะเทไปทางฝั่ง AMM แบบใหม่ซะเป็นส่วนใหญ่
🌠2. DeFi เจ้าใหญ่เริ่มฟื้นตัว
🏖️ถึงปีที่แล้วจะค่อนข้างหนักอยู่พอตัว แต่โครงการเหล่านี้ (SNX, AAVE, UNI) ที่ได้รับฉายาว่า “DeFi blue chips” ก็ยังมีบทบาทสำคัญและเป็นผู้นำอยู่ในวงการของตัวเอง บางทีอาจลองพิจารณาเป็นทางเลือกเพิ่มเติมดู เพราะว่าอาจจะมีการเด้งสวนขึ้นมาในอนาคตอันใกล้ก็ได้ ยิ่งบล็อกเชนพัฒนามากเท่าไหร่ โครงการชั้นนำเหล่านี้ก็คงไม่หายไปไหนอย่างแน่นอน
🌠3. ผู้คนเริ่มกลับสู่ตลาดเก็งกำไรแบบดั้งเดิม (Forex)
🏖️ปัจจุบันในโลก DeFi ในการที่จะทำ Leverage ผู้ใช้จะเหมือนโดนบังคับให้ใช้เทคนิคพิเศษเช่นการกู้เงินซ้ำเป็นชั้น ๆ ไปเรื่อย ๆ (Recursive borrowing) เพื่อให้เงินลงทุนมีประสิทธิภาพสูงที่สุด
🏖️หลัง ๆ มานี้เลยมีแพลตฟอร์มอย่าง Gearbox เข้ามาช่วยแก้ปัญหาด้วยระบบ Credit account อยู่บ้าง ถ้าสนใจด้านนี้ลองไปศึกษาเพิ่มเติมดูกันได้นะ
🏖️ในช่วงหลัง ๆ จากกราฟเราจะเห็นว่าการลงทุนในกลุ่มสกุลเงินต่างประเทศ (Forex) เริ่มกลับมากินส่วนแบ่งได้เยอะขึ้น ด้วยความที่มันเป็นตลาดที่อยู่มายาวนานที่สุดในระบบการเงินปัจจุบัน แต่ถึงอย่างนั้น ความพยายามในการนำ Forex เข้าสู่โลก DeFi ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากไม่ได้มี Demand มากนักและการออกแบบโครงการก็ไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่
🌠4. ความเสี่ยงของตลาดเงินแบบไม่ต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกัน
🏖️ปัจจุบันผู้ปล่อยกู้มักจะให้เงินกู้ที่ไม่มีหลักประกันแก่ Market maker และกองทุน Hedge fund เป็นจำนวนมาก แล้วพอมีการผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้น ก็เหมือนเป็นการทำลายชื่อเสียงทั้งหมดของพวกเขาที่สั่งสมมาในวงการคริปโตฯ ไปด้วย อย่างไรก็ตามพวกกองทุนสถาบันคงไม่ยอมเสียชื่อเสียงง่าย ๆ เพื่อแลกกับเงินเพียงเล็กน้อย
🏖️จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในโลกคริปโต ความจริงได้เริ่มเปิดเผยว่าความเสี่ยงของผู้ปล่อยกู้นั้นมีมากกว่าที่พวกเขาคิด
🏖️ ถ้าเทียบตลาดเงินที่มีสินทรัพย์ค้ำประกันเกิน 100% อย่าง AAVE และ Compound กับกลุ่มที่ไม่มีหลักประกันอย่าง Maple Finance และ Clearpool ความเสี่ยงของกลุ่มหลังนี้จะสูงกว่ามากอย่างเห็นได้ชัด
🏖️ซึ่งการผิดนัดชำระหนี้เป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุด เนื่องจากเงินกู้เหล่านี้ไม่ได้มีหลักประกันนั่นเอง ส่วนปัญหาที่พบรองลงมาก็จะมาจากฝั่งคู่กรณี หรือไม่ก็เป็นปัญหาการกระจุกตัวของคู่สัญญา
🌠 5.พัฒนาผลิตภัณฑ์ LP แบบ Passive เพื่อให้เงินต้นของ LP ยังอยู่ครบ
🏖️ Uniswap V3 และปริมาณการซื้อขายที่ถดถอยของ Sushiswap เป็นเหมือนกับจุดจบของการแจกรางวัลพิเศษให้กับผู้ที่เป็น LP (Incentivized LP staking) ผู้เพิ่มสภาพคล่อง (LP) ในปีที่ผ่านมาเหลือตัวเลือกไม่มาก ทำได้แค่เพียงเอาตัวรอดหาเงินต้นคืน แต่ในปี 2023 น่าจะเป็นช่วงแห่งคลื่นลูกใหม่ของโครงการ DeFi ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือกลุ่ม LP ที่ถูกทอดทิ้งในปีก่อน ๆ เช่น Lyra Finance, GammaSwap, และ Rage Trade ที่ดูน่าจับตามองในปีนี้
🌠6.UX Aggregators: ระบบหน้าบ้านของ DeFi
🏖️UX ของโลกคริปโตยังห่างไกลจากสิ่งที่ควรจะเป็น ปัจจุบันการทำงานบน DeFi ก็คือเชือมต่อ Hardware wallet>ใช้ Browser extension เพื่อโยกย้ายเหรียญคริปโต>เข้าใช้งานแอปฯ DeFi ต่าง ๆ ที่เปิดตัวอยู่บนเว็บไซต์ ซึ่งอาจดูลำบากหลายขั้นตอนไปหน่อยในการใช้งาน แล้วพอยิ่งซับซ้อนมากเท่าไหร่ มันก็เหมือนมีกำแพงมากั้นไว้ตรงกลางระหว่าง DeFi กับคนทั่วไป
🏖️UX aggregator เป็นเหมือนผู้รวบรวมฟีเจอร์ทุกอย่างเข้าด้วยกันในหน้าเดียว ให้ลองคิดถึงภาพ Front end แบบจบที่เดียว รวบรวมฟังก์ชันทุกอย่างไว้ให้แบบง่าย ๆ ทั้งการเชื่อมกระเป๋า การหาแอปฯ เพื่อใช้งาน โอกาสในการหา Yield-bearing ข้อมูลอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมของแพลตฟอร์มต่าง ๆ การซื้อสัญญา Perpetual futures การสอดส่องหา Options ราคาถูกได้ และอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้นในอนาคต UX aggregator อาจกลายมาเป็นอีกหัวใจหลักที่ขาดไม่ได้ของ DeFi ก็ได้
🌠7. เตรียมเลิกใช้โมเดล veTokens และหาตัวเลือกอื่นที่ยั่งยืนกว่า
🏖️ VeTokenomics เข้ามามีบทบาทมากในปีที่แล้ว จากช่วงที่ผลตอบแทนของระบบโมเดล VeTokens บน Curve สูงทะลุเพดานตอนช่วงปลาย DeFi Summer จนทำให้ในปัจจุบัน โครงการใหม่นับสิบก็ได้นำโมเดล veToken นี้ไปใช้กับแพลตฟอร์มของตัวเอง จนตอนนี้โครงการเหล่านี้รวมกันมี TVL สูงถึง $10b แล้ว
🏖️VeTokenomics ไม่ได้แย่ตั้งแต่เกิด มันเพียงแค่ดูไร้จุดหมายเท่านั้นเอง เพราะในความเป็นจริง โลก DeFi นั้นมีอะไรมากกว่าการแค่รอปลดล็อคเหรียญไปวัน ๆ จึงเรียกได้ว่าความดังของ veTokens ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้โลก DeFi ค่อย ๆ ซึมลงไปในช่วงปีที่ผ่านมา เนื่องด้วยโครงการ DeFi ต่างก็นำโมเดลนี้ไปใช้ซ้ำ ๆ กันหมด
🌠สิ่งที่น่าแปลกใจ
🌠1.ความเคลื่อนไหวของ Derivatives ยังไม่โดดเด่นในปี 2022
🏖️dYdX ประสบความสำเร็จในปี 2021 และต้น-กลางปี 2022 ด้วยปริมาณการซื้อขายสัญญารวมกว่า $419b แต่ว่าแพลตฟอร์มเจ้าอื่น ๆ ที่ทำด้าน Perpetuals กลับไม่ได้รับความนิยมเท่ากับ dYdX เลยสักเจ้า
🏖️ปลายปี 2022 วงการ On-chain derivatives ก็เริ่มมีหน้าใหม่ที่ขนเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาบ้างอย่าง Rage Trade จึงคาดว่าตลาด DeFi น่าจะมีนวัตกรรมใหม่ ๆ มานำเสนอมากขึ้นในปี 2023 ที่สามารถดึงดูดฐานผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นได้
🌠2. ความอิ่มตัวของหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured Products)
🏖️Ribbon Finance และอื่น ๆ เช่น (Friktion, Thetanuts, Katana, Cega) พลิกโฉมวงการในช่วงกลางปี 2021 เพราะได้ออกผลิตภัณฑ์หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured Products) ให้ผู้ใช้ทั่วไปได้เข้ามาใช้งาน ไม่ได้จำกัดอยู่กับกลุ่มคนรวยอีกต่อไป จนมีโครงการอื่น ๆ เอาเป็นแบบอย่างและสร้างตามกันขึ้นมามากมาย ซึ่งแพลตฟอร์มเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็จะไปยืมสภาพคล่องมาจาก Derebit เพื่อเอามาดึงดูดกลุ่ม market maker ให้เข้ามาเพิ่มสภาพคล่องให้กับแพลตฟอร์ม
🏖️แต่คำถามก็คือ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เหมาะกับคนทั่วไปหรือเปล่า? การเปิดให้คนทั่วไปใช้ได้ไม่ได้หมายความว่าคนทั่วไปควรที่จะเข้ามาลงทุน เพราะอย่างน้อย ๆ ผู้ใช้ก็ควรมีความรู้ด้านโลกการเงินและได้ศึกษาเรื่อง Options มาระยะหนึ่งก่อนแล้วจึงจะสามารถใช้เครื่องมือพวกนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
🌠ไอเดียสำหรับโลกอนาคต
🌠1.วางแผนออกแบบ DeFi ให้เข้ากับระดับกลุ่มลูกค้าทั่วไป
🏖️การทำให้ DeFi ใช้งานง่ายขึ้น ผู้พัฒนาคงต้องทำให้ตัวแอปฯ มีหน้าตาที่ใช้งานง่ายเหมือนกับแอปพลิเคชันอย่าง Robinhood แต่ก็ยังคงความปลอดภัยไว้อยู่ วิธีแก้ปัญหาคืออาจทำให้แพลตฟอร์มเป็นแบบ Semi-centralized ที่ผสมผสานโลก DeFi และระบบ Multisig ระหว่างผู้ใช้และบริษัทเข้าไป ในเรื่องของรายได้ควรมาจากค่าบริหารจัดการ ค่าธรรมเนียมทำธุรกรรม และโมเดลการหาเงินแบบ Freemium อย่างไรก็ตาม การกำกับดูแลก็ยังเป็นคำถามที่ไร้ซึ่งคำตอบมาจนถึงปัจจุบัน
🌠2. ยกระดับการกู้ยืมแบบไม่ต้องค้ำประกันให้โตยิ่งกว่านี้
🏖️ในอนาคตควรมีการวางระบบการกู้ยืมแบบไม่ต้องค้ำประกันเพิ่มเติม เพื่อดึงดูดผู้ใช้คริปโตฯ ให้เข้ามาใช้งานได้มากกว่านี้ โดยคำนึงถึง 3 หลักการ
1.Sybil resistance: ผู้โจมตีเจาะระบบได้ไม่เกิน 1 ครั้งเท่านั้น
2.รางวัลจูงใจ, ทฤษฎีเกม, และแหล่งข้อมูลคริปโต: จำนวนผู้ที่คิดโจมตีจะมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เพราะทำไปก็ไม่คุ้ม
3.การออกแบบเครือข่าย: ผู้โจมตีไม่สามารถสร้างความเสียหายได้หนักถึงขั้นต้องปิดตัว
🏖️การใช้ระบบ Decentralized identifiers และ Verifiable credentials ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดที่จำเป็นในการสร้างระบบการกู้ยืมโดยไม่ต้องค้ำประกันในปัจจุบัน (ถ้าอยากรู้เรื่องนี้กลับไปอ่านได้ที่ Content Web 5 ของเรา)
🌠3. การทำ Arbitrage แบบ On-chain ที่แท้จริง
🏖️การทำ Arbitrage เป็นสิ่งสำคัญในโลกการเงิน เพราะมันทำให้ราคาเป็นไปอย่างยุติธรรมและไม่แกว่งไปมาสำหรับผู้ใช้ทุกคน หากเป็นในโลกการเงิน Arbitrage จะทำโดยการขายอนุพันธ์ที่มีราคาสูงเกินจริง>กู้ยืมเงินมาหักล้างกันกับราคาหุ้น>รับผลกำไรโดยตรง แต่ในโลกคริปโตฯ การกู้โดยไม่ต้องค้ำประกันนั้นยังเป็นไปไม่ได้ ปัจจุบันจึงมีการทำงานแค่ 2 แบบ คือ 1. Flash loan 2.ซื้อถูก ขายแพง หรือไม่ก็ถือสัญญาไว้จนกว่าจะครบกำหนด โดยเงินต้น+กำไรจะถูกคิดในช่วงที่อนุพันธ์หมดอายุทีเดียว
🏖️เหรียญ GHO ของ AAVE ที่กำลังจะออกก็เลยดูน่าสนใจ ด้วยคุณสมบัติ Delta-neutral position และสภาพคล่องที่สูงมากของโปรโตคอล เหมาะแก่การโยกย้ายเหรียญคริปโตฯ หลากหลายชนิดแบบข้ามเชน รวมไปถึงการปรับสมดุลของสัญญาอนุพันธ์ (Offsetting derivatives contracts) ในอนาคต หาก AAVE ได้เข้าไปลงเล่นในตลาดอนุพันธ์จริงก็คงน่าติดตามไม่ใช่น้อย
🌠สรุปส่งท้าย
🏖️DeFi หรือ Decentralized finance กำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของอุตสาหกรรมการเงิน และมันก็ได้พิสูจน์แล้วว่าที่ผ่านมา DeFi ได้เข้ามาแก้ไขปัญหาการชำระเงินแบบเก่าได้หลายอย่าง ถึงปัจจุบันตลาดจะมีความปั่นป่วน แต่โลก DeFi ก็ยังยืดหยุ่นปรับตัวได้ และจากกราฟสถิติการใช้งาน ก็มีแววว่า DeFi ยังมีพื้นที่ให้เติบโตต่อได้อีกเยอะในอนาคต
🏖️อย่างไรก็ตามการกำกับดูแล็ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องคอยติดตาม และสำหรับผู้ที่เป็นนักลงทุนหรือนักพัฒนา ก็อยากฝากให้ระวังกันไว้เสมอ และให้โฟกัสกับแนวทางที่จะช่วยเพิ่มยอดผู้ใช้งานจริงต่อไปได้ในอนาคต เพื่อยกระดับภาพรวมของโลก DeFi ต่อไป